ระดับของการแพ้ท้อง
ระดับที่ 1 มีอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะเล็กน้อย มักมีอาการในช่วงเช้า รับประทานอาหารได้น้อยลง มีการอาเจียนบ้าง แต่สามารถบรรเทาได้เมื่อปฏิบัติตามคำแนะนำด้านล่าง ถ้าคุณแพ้ท้องแบบนี้ก็สบายใจได้ว่าการแพ้ท้องของคุณอยู่ในระดับ Morning Sickness ทั่ว ๆ ไป ไม่น่ากังวลมาก น้ำหนักตัวของคุณแม่ตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก ควรเพิ่มขึ้น 1-2 กิโลกรัม ในช่วงที่แพ้ท้องมากจนรับประทานอาหารไม่ค่อยได้ คุณแม่ตั้งครรภ์อาจมีน้ำหนักลดลงเล็กน้อย
ระดับที่ 2 มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน รับประทานอาหารไม่ได้ พักผ่อนอย่างไรก็ไม่ดีขึ้น และมีปัสสาวะสีเข้ม ต้องรีบพบแพทย์ กรณีที่อาเจียนมากจนรับประทานอาหารไม่ได้ คุณหมออาจให้น้ำเกลือ หรือฉีดกลูโคส เพื่อบรรเทาอาการอ่อนเพลียก่อน แล้วอาจให้รับประทานยาประเภท Dimenhydrinate ซึ่งเป็นยาระงับอาการคลื่นไส้ ซึ่งต้องรับประทานก่อนที่จะเกิดอาการแพ้ รวมทั้งการแนะนำให้ปรับวิธีรับประทานอาหาร เมื่อพบแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำแล้วอาการแพ้ท้องก็จะบรรเทาลงได้
ระดับที่ 3 เป็นการแพ้ท้องขั้นรุนแรง ซึ่งทางการแพทย์ เรียกว่า Hyperemesis Gravidarum (HG) พบประมาณ 0.3 ถึง 2% ในหญิงตั้งครรภ์ อาการจะรุนแรงถึงขั้นที่คุณแม่รับประทานอะไรไม่ได้เลย อาเจียนมากจนร่างกายขาดทั้งน้ำและอาหาร บางคนอาเจียนจนหลอดเลือดที่อยู่บริเวณหลอดอาหารมีการฉีกขาดจนมีเลือดปนมากับอาเจียน บางคนอาเจียนจนมีเลือดออกใต้เยื่อบุตา ผู้ที่แพ้ท้องขั้นรุนแรง จะเริ่มแพ้เร็วกว่าการแพ้ท้องธรรมดาและมักจะแพ้นาน บางรายอาจแพ้ท้องอย่างหนักไปจนถึงคลอด แต่ส่วนใหญ่จะดีขึ้นเมื่อตั้งครรภ์ได้ 20 สัปดาห์
ถ้าแพ้ท้องถึงระดับนี้ก็จำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่ออยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด โดยแพทย์จะให้น้ำเกลือ ซึ่งบางครั้งอาจมีการให้อาหารผ่านทางน้ำเกลือ เช่น วิตามินบี 6 และให้ยาช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องด้วย
ระดับที่ 2 มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน รับประทานอาหารไม่ได้ พักผ่อนอย่างไรก็ไม่ดีขึ้น และมีปัสสาวะสีเข้ม ต้องรีบพบแพทย์ กรณีที่อาเจียนมากจนรับประทานอาหารไม่ได้ คุณหมออาจให้น้ำเกลือ หรือฉีดกลูโคส เพื่อบรรเทาอาการอ่อนเพลียก่อน แล้วอาจให้รับประทานยาประเภท Dimenhydrinate ซึ่งเป็นยาระงับอาการคลื่นไส้ ซึ่งต้องรับประทานก่อนที่จะเกิดอาการแพ้ รวมทั้งการแนะนำให้ปรับวิธีรับประทานอาหาร เมื่อพบแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำแล้วอาการแพ้ท้องก็จะบรรเทาลงได้
ระดับที่ 3 เป็นการแพ้ท้องขั้นรุนแรง ซึ่งทางการแพทย์ เรียกว่า Hyperemesis Gravidarum (HG) พบประมาณ 0.3 ถึง 2% ในหญิงตั้งครรภ์ อาการจะรุนแรงถึงขั้นที่คุณแม่รับประทานอะไรไม่ได้เลย อาเจียนมากจนร่างกายขาดทั้งน้ำและอาหาร บางคนอาเจียนจนหลอดเลือดที่อยู่บริเวณหลอดอาหารมีการฉีกขาดจนมีเลือดปนมากับอาเจียน บางคนอาเจียนจนมีเลือดออกใต้เยื่อบุตา ผู้ที่แพ้ท้องขั้นรุนแรง จะเริ่มแพ้เร็วกว่าการแพ้ท้องธรรมดาและมักจะแพ้นาน บางรายอาจแพ้ท้องอย่างหนักไปจนถึงคลอด แต่ส่วนใหญ่จะดีขึ้นเมื่อตั้งครรภ์ได้ 20 สัปดาห์
ถ้าแพ้ท้องถึงระดับนี้ก็จำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่ออยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด โดยแพทย์จะให้น้ำเกลือ ซึ่งบางครั้งอาจมีการให้อาหารผ่านทางน้ำเกลือ เช่น วิตามินบี 6 และให้ยาช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องด้วย
เคล็ดลับป้องกันอาการแพ้ท้อง อาการคลื่นไส้
1. รับประทานอาหารจำพวกแป้ง ที่ขบเคี้ยวง่ายและไม่หวานมาก ทันทีที่คุณตื่นนอน เช่น บิสกิตหรือขนมปังกรอบ จากนั้นให้นอนพักอีก 15-30 นาที ก่อนลุกออกจากเตียง
2. ทานอาหารเช้าจำพวก “โปรตีน” สูงๆ เช่น โยเกิร์ต ไข่ เนยแข็ง
3. ดื่มน้ำมากๆ ไม่ว่าจะเป็นเปล่า น้ำผลไม้ นม ชาผลไม้ น้ำอะไรก็ตามที่คุณสามารถดื่มได้ น้ำขิงหรือชาขิงจะช่วยให้อาการคลื่นไส้อาเจียนลดลงและทำให้หายจากอาการแพ้ท้องได้
4. รับประทานผลไม้ คุกกี้ นม เป็นอาหารว่าง
5. รับประทานอาหารเช้าบนเตียง ทานช้า ๆ และพักสักครู่ก่อนลุกจากเตียง
6. พยายามทำให้อากาศในห้องนอนถ่ายเทได้สะดวก หมั่นรับอากาศบริสุทธิ์อย่างสม่ำเสมอ
7. หลีกเลี่ยงอาหารมันที่ย่อยยาก หลีกเลี่ยงอาหารที่มีเครื่องเทส เช่น แกงกะหรี่ อาหารทอด หรืออาหารที่มีความเป็นกรดสูง เพราะอาหารเหล่านี้ย่อยยาก
9. ห้ามรับประทานยาแก้คลื่นไส้เองโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์
10. เลือกกินอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสี ซึ่งพบมากในอาหารประเภทผลิตภัณฑ์นม เนื้อสัตว์ ตับ ไข่ ปลา สัตว์น้ำประเภทมีเปลือก ถั่ว พืชประเภทถั่ว ข้าโพด หรือในรูปอาหารเสริมก็ได้ มีงานวิจัยชี้ว่าผู้หญิงที่กินอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสี มีแนวโน้มที่จะแพ้ท้องน้อยกว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น